วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วัดจันทร์

วัดจันทร์ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ สร้างมานานกว่า 300 ปี มีความโดดเด่น คือ วิหารแว่นตาดำ ลักษณะคล้ายคนสวมแว่นตา และยังเป็นสำนักงานชั่วคราวของที่ว่าการอำเภอกัลยาณิวัฒนาอีกด้วย

วิหารแว่นตาดำ[แก้]

วิหารแว่นตาดำ วิหารที่มีลักษณะเหมือนสวมแว่นตาดำอยู่หน้าวิหาร สร้างมาประมาณ 80 ปี[1] โดยช่างชาวกะเหรี่ยงหรือชาวปกาเกอญอ โดยเหตุผลเพราะ วิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก พื้นวิหารเทพื้นปูน ฝาวิหารด้านข้างฉาบปูน ส่วนประตูด้านหน้าวิหารรวมทั้งจั่ววิหารด้านหน้าส่วนหนึ่งได้ทำด้วยแผ่นไม้สักปิดบังแสงแดดไว้หมด ขณะนั้นช่างเห็นว่าหากปิดด้านหน้าวิหารหมดจะไม่มีแสงแดดให้แสงสว่างในวิหารได้ จึงมีเจตนาว่าจะเปิดด้านหน้าวิหารบริเวณจั่ววิหารให้แสงแดดเข้ามาข้างในวิหารได้บ้าง จึงเจาะแผ่นไม้บางส่วนของจั่วออกเพื่อจะได้รับแสง โดยช่างตั้งใจจะทำให้เหมือนดวงตา แต่พอทำเสร็จมีลักษณะคล้ายแว่นตาจึงปล่อยให้เป็นไปอย่างนั้น ก่อนนั้นไม่ได้นำกระจกมาสวมใส่แต่อย่างใด แต่เป็นห่วงทรัพย์สินในวิหารที่มีพระประธานเป็นพระสิงห์ 3 อายุกว่า 300 ปี และพระพุทธรูปองค์อื่นๆ อีกจำนวนมาก กลัวว่าจะสูญหาย ต่อมาจึงนำกระจกกรองแสงสีดำมาติดอีกครั้งหนึ่ง จึงเป็นวิหารสวมแว่นตา

วัดเจดีย์เหลี่ยม

วัดเจดีย์เหลี่ยม หรือ วัดกู่คำ ตั้งอยู่ติดกับถนนเกาะกลาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1831 ในสมัยของพระเจ้าเม็งราย หลังจากที่พระองค์ยกทัพมาตีเมืองลำพูนแล้ว ในขณะที่พระองค์ยกทัพไปสร้างเมืองใหม่ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ได้ 5 ปี ต่อมาปี พ.ศ. 1820 จึงยกทัพมาสร้างเมืองใหม่ริมแม่น้ำปิง ตั้งชื่อเมืองว่า "เวียงกุมกาม" จนในปี พ.ศ. 1830 ทรงให้ช่างไปถ่ายแบบพระเจดีย์ จากวัดจามเทวีลำพูน มาเป็นต้นแบบ เพื่อนำมาสร้างสักการะ โดยสร้างเจดีย์วัดมีขนาดฐานกว้าง 8 วา 1 ศอก สูง 22 วา แต่หลังจากนั้นวัดถูกทอดทิ้ง รกร้างอยู่นานหลายร้อยปี จนเมื่อปี พ.ศ. 2451 มีคหบดีชาวพม่าคนหนึ่งได้มาเห็นเข้า เกิดศรัทธา จึงบูรณะขึ้นใหม่ โดยใช้ช่างจากพม่า ลักษณะสถาปัตยกรรมจึงมีรูปแบบศิลปะแบบพม่าแทนที่ศิลปะขอม ที่เป็นแบบดั้งเดิม[1]

เวียงกุมกาม

เวียงกุมกาม (คำเมืองLN-Wiang Kumkam.png เวียงกุ๋มก๋าม) เป็นอดีตเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา ที่พญามังรายโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1829 โดยโปรดให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้าน ไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ ในคูเมืองโบราณสถานที่ปรากฏอยู่ในเวียงกุมกามและใกล้เคียง เป็นเวียง (เมือง) ทดลองที่สร้างขึ้น ก่อนที่จะมาเป็นเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีระยะห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร

วัดป่าดาราภิรมย์

วัดป่าดาราภิรมย์ ตั้งอยู่ที่ 514 ต.ริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับพระบรมราชานุญาตยกฐานะให้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ[1] นับได้ว่าเป็นพระอารามหลวงแห่งที่ 7 ในจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ด้านหลังที่ว่าการอำเภอแม่ริมและค่ายดารารัศมี นามของวัดนี้ถูกตั้งขึ้นตามพระนามของเจ้าดารารัศมี พระราชชายา

ประวัติ[แก้]

พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต ได้ออกจาริกธุดงค์มาทางภาคเหนือและได้พำนัก ณ ป่าช้าร้างติดกับสวนเจ้าสบาย พระตำหนักดาราภิรมย์ของเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นสถานที่สงบ เป็นสปายะในการบำเพ็ญกรรมฐาน และมีพระสงฆ์ได้เข้ามาบำเพ็ญกรรมฐาน ณ ที่แห่งนี้ เมื่อชาวบ้านในละแวกเห็นแล้วได้เกิดศรัทธาจึงได้ร่วมกันสร้างเสนาสนะต่างๆ ถวายเพื่อให้คณะสงฆ์ได้ใช้ในกิจการสงฆ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 เจ้าลดาคำ ณ เชียงใหม่ ทายาทของเจ้าดารารัศมี พระราชชายา ได้ถวายที่ดินดังกล่าวซึ่งอยู่ในเขตพระราชฐานพระตำหนักเจ้าดารารัศมีให้แก่วัด
วัดป่าดาราภิรมย์ ได้ประกาศตั้งเป็นวัดวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2481 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2522 ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523วัดป่าดาราภิรมย์ ตั้งอยู่ที่ 514 ต.ริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับพระบรมราชานุญาตยกฐานะให้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ[1] นับได้ว่าเป็นพระอารามหลวงแห่งที่ 7 ในจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ด้านหลังที่ว่าการอำเภอแม่ริมและค่ายดารารัศมี นามของวัดนี้ถูกตั้งขึ้นตามพระนามของเจ้าดารารัศมี พระราชชายา

ประวัติ[แก้]

พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต ได้ออกจาริกธุดงค์มาทางภาคเหนือและได้พำนัก ณ ป่าช้าร้างติดกับสวนเจ้าสบาย พระตำหนักดาราภิรมย์ของเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นสถานที่สงบ เป็นสปายะในการบำเพ็ญกรรมฐาน และมีพระสงฆ์ได้เข้ามาบำเพ็ญกรรมฐาน ณ ที่แห่งนี้ เมื่อชาวบ้านในละแวกเห็นแล้วได้เกิดศรัทธาจึงได้ร่วมกันสร้างเสนาสนะต่างๆ ถวายเพื่อให้คณะสงฆ์ได้ใช้ในกิจการสงฆ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 เจ้าลดาคำ ณ เชียงใหม่ ทายาทของเจ้าดารารัศมี พระราชชายา ได้ถวายที่ดินดังกล่าวซึ่งอยู่ในเขตพระราชฐานพระตำหนักเจ้าดารารัศมีให้แก่วัด
วัดป่าดาราภิรมย์ ได้ประกาศตั้งเป็นวัดวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2481 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2522 ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523

หอคำหลวง

หอคำหลวง เป็นอาคารหลังหนึ่งในงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 สร้างด้วยสถาปัตยกรรมท้องถิ่นล้านนา ภายใต้แนวคิดว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ ศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทย” เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ หอคำหลวง ที่มีหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นประธานคณะอนุกรรมการ
อาคารหอคำหลวง ตั้งอยู่บนเนินดิน พื้นที่ 3,000 ตารางเมตร ออกแบบสถาปัตยกรรมโดยนายรุ่ง จันตาบุญ [1][2] จำลองมาจากภาพหอคำหลวงของเจ้าเมืองเชียงใหม่ในอดีต และออกแบบศิลปกรรมภายในอาคาร โดยนายปรีชา เถาทอง เน้นการถึงพระอัจฉริยภาพด้านการเกษตร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว [3]


    วัดเกตการาม

    บทความนี้มีเนื้อหาที่สั้นมาก ต้องการเพิ่มเติมเนื้อหาหรือพิจารณารวมเข้ากับบทความอื่นแทน
    โบสถ์วัดเกตุและพระบรมธาตุ(ด้านใน)
    วัดเกตการาม ตั้งอยู่ที่ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ใกล้กับถนนเลียบริมแม่น้ำปิง ซึ่งย่านนี้ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของจังหวัดเชียงใหม่
    วัดเกตการามเป็นวัดเก่าแก่ของเมืองเชียงใหม่ สร้างในปี พ.ศ. 1971 สมัยพระเจ้าสามฝั่งแกน ย่านวัดเกตอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ถือเป็นย่านเศรษฐกิจสำคัญของเชียงใหม่มาตั้งแต่อดีต ปัจจุบันย่านวัดเกตเป็นทั้งย่านที่อยู่อาศัย และย่านท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของเมืองเชียงใหม่
        พิพิธภัณฑ์วัดเกตการามก่อตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของศรัทธาวัดเกต เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2542 มีคณะกรรมการวัดเกตการามเป็นผู้ดูแล
        อาคารของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เคยเป็นกุฏิพระครูชัยศีลวิมล (พ.ศ. 2429 – 2500)  เรียกกันว่า"โฮงตุ๊เจ้าหลวง" การเข้าชมพิพิธภัณฑ์โดยปกติแล้ว คุณลุงจริน เบน ศรัทธาวัดทำหน้าที่ในการดูแล และต้อนรับเยี่ยมผู้ชม หากแต่ยามใดที่ไม่มีผู้ดูแลประจำอยู่ ณ ที่นั้น ผู้ต้องการเข้าชมสามารถที่จะกดกริ่ง เพื่อเรียกให้คนมาเปิดประตู   เมื่อสอบถามเจ้าอาวาสเพิ่มเติมได้ทราบว่า ก่อนที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ คณะกรรมการวัดไปดูการจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็งมาก่อน และเห็นว่า ชุมชนวัดเกตการามมีวัตถุทางวัฒนธรรมที่สามารถจัดแสดงได้เช่นกัน จึงต้องการที่จะจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นมา เพื่อเก็บรักษาวัตถุที่มิได้ใช้ในชีวิตประจำวันในปัจจุบันแล้ว
    

    วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

    ระวังสับสนกับ วัดพระธาตุดอยจอมทอง
    วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เดิมชื่อ วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ตั้งอยู่ถนนเชียงใหม่-ฮอด หมู่ 2 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทองจังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 58 กิโลเมตร วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 บริเวณที่ตั้ง เป็นเนินดินสูง ประมาณ 10 เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า ดอยจอมทอง ตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ 20 แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรม ในสมัยหลัง พุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่

    ตำนานและประวัติ[แก้]

    ตำนานพระทักขิณโมลีธาตุ[แก้]

    ดอยจอมทอง มีสัณฐานเป็นภูเขาดินสูงจากระดับพื้นที่ราบอื่นยอดดอยลูกนี้ในสมัยพุทธกาล มีเมืองๆ หนึ่งชื่อว่า “เมืองอังครัฏฐะ” เจ้าผู้ครองเมืองนั้นชื่อว่า พระยาอังครัฏฐะ พระยาอังครัฏฐะ ได้ทราบข่าวจากพ่อค้าที่มาจากอินเดียว่า “บัดนี้พระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้“ เวลานี้ประทับอยู่เมืองราชคฤห์ ในประเทศอินเดีย จึงอธิษฐานขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรด พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณแล้วจึงเสด็จมาสู่เมืองอังครัฏฐะ ทรงแสดงธรรมและทรงพยากรณ์ ไว้ว่า “เมื่อเราตถาคตนิพพานแล้วธาตุพระเศียรเบื้องขวาของเราจักมาประดิษฐานอยู่ ณ ดอยจอมทอง แห่งนี้” แล้วเสด็จกลับ ส่วนพระยาอังครัฏฐะทรงสดับพระดำรัสที่ตรัสพยากรณ์นั้นแล้ว ได้ทรงรับสั่งให้สร้างสถูปไว้บนยอดดอยจอมทองด้วยหวังว่าจะให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุตามที่ทรงพยากรณ์ไว้ กาลล่วงมาถึงรัชสมัยแห่งพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย พระองค์ได้เสด็จสู่ดอยจอมทอง ได้ขุดคูหูเปิดอุโมงคใต้พื้นดอยจอมทองแล้วทรงรับสั่งให้สร้างพระสถูปไว้ภายในคหูนนี้ ทรงอัญเชิญพระบรมธาตุที่อยู่ในสถูปที่พระยาอังครัฏฐะรับสั่งให้สร้างไว้บนยอดดอยนั้น เข้าไปประดิษฐานในสถูปที่สร้างใหม่ในคูหาใต้พื้นดอยจอมทองแล้วรับสั่งให้เอาก้อนหินปิดปากถ้ำาคูหาไว้ ทรงอธิษฐานไว้ว่า “ต่อไปข้างหน้า ถ้าพระเจ้าแผ่นดินและศรัทธาประชาชน มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ขอให้ พระบรมธาตุเจ้าเสด็จออกมาปรากฏแก่ฝูงชนให้ได้กราบไหว้สักการบูชา”

    สร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัด[แก้]

    • พ.ศ. ๑๙๙๕ พ่อสร้อย แม่เม็ง สองสามีภรรยา บ้านอยู่ใกล้กับดอยจอมทอง จึงได้เริ่ม สร้างเป็นวัดขึ้นบนยอดดอยจอมทองนั้นแล้วให้ชื่อว่า วัดศรีจอมทอง การสร้างวัดยังไม่เสร็จดี พ่อสร้อย แม่เม็ง ก็ได้ถึงแก่กรรมไป ต่อมาเมื่อ
    • พ.ศ. ๒๐๐๙ มีชาย ๒ คน ชื่อสิบเงินและสิบถัว ได้ช่วยกันบูรณะวัดศรีจอมทองและก่อสร้างวิหารมุงหญ้าคาขึ้นหนึ่งหลังจนเสร็จ แล้วได้อาราธนาพระสารีปุตตเถระ มาเป็นเจ้าอาวาส

    ค้นพบพระบรมธาตุ[แก้]

    พระวิหารหลวง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
    • พ.ศ. ๒๐๔๒ ในสมัยที่พระธัมมปัญโญเถระ เป็นเจ้าอาวาส มีตาปะขาวคนหนึ่งเกิดนิมิตฝันว่าเทวดามาบอกว่าที่ใต้พื้นวิหารบนยอดดอย ที่ตั้งของวัดนี้มีพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าและพระบรมธาตุนั้นจักเสด็จออกมาให้ฝูงชนได้กราบไหว้สักการบูชาต่อไป ตาปะขาวจึงได้ไปเล่าความฝันให้เจ้าอาวาสฟัง ท่านจึงได้ทำการอธิษฐานว่า “ถ้ามีจริงดังความฝันนั้นขอให้พระบรมธาตุจงเสด็จออกมา ในเมื่อข้าพเจ้ายังมีชีวิตอยู่นี้เถิด” เมื่ออธิษฐานแล้วในวันรุ่งขึ้น ได้พบพระบรมธาตุอยู่ในช่องใจกลางพระเกศโมลีของพระพุทธรูปซึ่งตั้งอยู่ภายในวิหารนั้นจึงได้เก็บรักษากันไว้ โดยเงียบๆ สืบมา
    • พ.ศ. ๒๐๕๘ สมัยที่พระมหาสีลปัญโญ เป็นเจ้าอาวาส ได้มีพระมหาพุทธญาโณเถระ ได้นำตำนานพระทักขิณโมลีธาตุ มาจากเมืองพุกามจึงได้สั่งให้พระอานันทะ ผู้เป็นศิษย์ไปสืบดูพระบรมธาตุที่วัดศรีจอมทอง จึงได้ทำการสักการบูชาอธิษฐานอยู่ ฝ่ายพระมหาสีลปัญโญเมื่อได้เห็นอาการดังนั้น จึงได้นำเอาพระบรมธาตุที่ได้เก็บรักษากันต่อๆกันออกมาแสดงให้พระอานันทะทราบ พระอานันทะจึงได้นำความไปแจ้งแก่พระมหาพุทธญาโณ ผู้เป็นอาจารย์ ฝ่ายพระมหาพุทธญาโณ เมื่อได้ทราบดังนั้น จึงได้นำความไปทูลพระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช (พระเมืองแก้ว) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ให้ทรงทราบ
    • พ.ศ. ๒๐๖๐ พระเมืองแก้ว จึงอาราธนาให้พระมหาพุทธญาโณ เป็นหัวหน้าไปสร้างวิหารจตุรมุข และก่อปราสาทไว้ภายในวิหารนั้น แล้วอัญเชิญพระบรมธาตุเข้าประดิษฐานไว้ภายในปราสาทนั้น พระบรมธาตุจึงได้รับการเก็บรักษาไว้โดยวิธีนี้ ต่อๆ มาจนกระทั่งถึงกาลปัจจุบันนี้

    ลำดับเจ้าอาวาส วัดพระธาตุศรีจอมทอง (เท่าที่มีบันทึก)[แก้]

    1. พระสารีปุตตเถระ พ.ศ. ๒๐๐๙-๒๐๑๓
    2. พระเทพกุลเถระ พ.ศ. ๒๐๑๓-๒๐๑๘
    3. พระธมฺมปญฺโญเถระ พ.ศ. ๒๐๑๘-๒๐๔๖
    4. พระอานนฺโท พ.ศ. ๒๐๔๖-๒๐๔๗
    5. พระเหมปญฺโญ พ.ศ. ๒๐๔๗-๒๐๔๙
    6. พระญาณมงคละ พ.ศ. ๒๐๔๙-๒๐๕๐
    7. พระพุทธเตชะ พ.ศ. ๒๐๕๐-๒๐๕๒
    8. พระอรญฺญวาสี พ.ศ. ๒๐๕๒-๒๐๕๔
    9. พระธมฺมรกฺขิต พ.ศ. ๒๐๕๔-๒๐๕๕
    10. พระเอยฺยอปฺปกะ พ.ศ. ๒๐๕๕-๒๐๕๖
    11. พระมหาสีลปญฺโญ พ.ศ. ๒๐๕๖-๒๐๗๑
    12. พระมหาสงฺฆราชสทฺธมฺมทสฺสี พ.ศ. ๒๐๗๑-๒๐๘๗
    13. พระมหาสงฺฆราชาญาณมงฺคละ พ.ศ. ๒๐๘๗-๒๐๙๙
    14. พระมหาสงฺฆราชชวนปญฺโญโสภิตขิตินทริยวงฺโส พ.ศ. ๒๐๙๙-๒๑๐๙
    15. พระมหาสามิคณาจิตฺต พ.ศ. ๒๑๐๙
    16. ครูบาพุทธิมาวงฺโส พ.ศ. ๒๓๑๔
    17. ครูบามหาวัน พ.ศ. ๒๔๐๙-๒๔๖๒
    18. พระครูพุทธศาสน์สุประดิษฐ์ (อินถา ทาริโย) พ.ศ. ๒๔๖๒-๒๔๘๓
    19. พระครูสุวิทยธรรม (สม สุมิตโต) พ.ศ. ๒๔๘๓-๒๕๓๓
    20. พระธรรมมังคลาจารย์ (ทอง สิริมงฺคโล) พ.ศ. ๒๕๓๔-ปัจจุบัน

    ความสำคัญ[แก้]

    พระธาตุศรีจอมทอง เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นสถานที่ประดิษฐานของพระทักษิณโมลีธาตุ พระธาตุส่วนที่เป็น พระเศียรเบื้องขวาของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีขนาดโตประมาณ เมล็ดพุทรา สัณฐานกลมเกลี้ยง สีขาวนวลเหมือน ดอกบวบ หรือ สีคล้ายดอกพิกุลแห้ง ตามประวัติเล่าว่า พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นผู้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ ดอยจอมทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 218 ปัจจุบัน พระธาตุ ถูกบรรจุไว้ในพระโกศ 5 ชั้น ซึ่งตั้งอยู่ภายใน พระวิหารจตุรมุข ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส คล้ายพระเจดีย์ กว้าง 4 เมตร สูง 8 เมตร ตามประวัติว่าสร้างขึ้นโดย พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช หรือ พระเมืองแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์มังราย เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2060